La Mitra มิตรแท้ คือมิตรผู้ให้

La Mitra มิตรแท้ คือมิตรผู้ให้
”We make a living by what we get, but we make a life by what we give.”
-Winston Churchill
ในโลกที่ใครหลายคนมุ่งหวังทำธุรกิจเพื่อกำไรอาศัยแนวคิดปลาใหญ่กินปลาเล็กปลูกฝังคติสายป่านยาวย่อมลอยตัวอยู่กลางน่านฟ้าได้นานกว่าใครเพื่อน จะมีใครสักกี่คนที่มองเห็นเบื้องหลังของเม็ดเงินที่หลั่งไหล คนตัวเล็กๆที่นั่งเย็บจักรเพื่อแลกข้าวสามมื้อพนักงานขายที่วิ่งรอกหน้ามันเพื่อกำไรของบริษัทหรือแม้แต่เศษซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นผลพวงจากการผลิตสินค้าล็อตใหญ่ นานแค่ไหนแล้วที่เราทุกคนทำธุรกิจอย่างศัตรูเป็นศัตรูต่อธรรมชาติ เป็นศัตรูต่อความเมตตา เป็นศัตรูต่อศีลธรรมในใจใครว่าการทำธุรกิจต้องทำอย่างเป็นศัตรูเสมอไป เพราะสำหรับ La Mitra แบรนด์กระเป๋าหนังแฟชั่นที่เกิดจากความตั้งใจดีในแรกเริ่มแล้วเราสร้างธุรกิจนี้ขึ้นเพื่อต้องการหยิบยื่นความเป็น ‘มิตร’ ต่อทั้งผู้ผลิตผู้บริโภค หรือแม้แต่ต่อธรรมชาติสร้างสรรค์สิ่งซึ่งเป็นมิตร กระเป๋าหนังของ La Mitra ไม่เพียงแต่ทำมาจากหนังคุณภาพดีทั้งยังสวยงามด้วยสายปักงานฝีมืออันอุดมด้วยรายละเอียดในส่วนของสายปักลวดลายวิจิตรนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์อย่างแท้จริง ย้อนกลับไปสมัยเมื่อ ‘จูจู้ ’ ยังเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3ได้มีโอกาสทำหน้าที่เป็นล่ามให้กับคุณหมอจากหน่วยงาน International Medical Relief ขึ้นไปตรวจรักษาชาวเผ่าที่อยู่บนดอยในจังหวัดเชียงรายที่นั่นเองที่เธอได้รู้จักกับคนกลุ่มหนึ่ง คนผู้ไม่มีบัตรประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครอง หรือดูแลจากภาครัฐจึงต้องดิ้นรนทำงานที่เหน็ดเหนื่อย เสี่ยงอันตรายเพื่อเลี้ยงดูปากท้องกลุ่มคนผู้ไร้สัญชาติ…แต่ไม่ไร้ความหวังในการมีชีวิตอยู่
นอกจากงานภาคเกษตรกรรม และก่อสร้างแล้วในยามว่างชาวเผ่าเหล่านี้ยังฝากฝังจิตวิญญาณภูมิปัญญางานปักที่สืบทอดกันมาแต่โบราณลงในงานปักสายซึ่งใช้เวลาทำนานกว่าสองสัปดาห์กว่าจะแล้วเสร็จหนึ่งชิ้น งานเหล่านี้ละเอียด งดงาม น่าทึ่งทั้งยังเต็มเปี่ยมด้วยความรู้สึกของ ‘ชีวิต’เป็นงานศิลปะที่ถูกกดราคาให้เหลือเพียงชิ้นละ 100 บาทเพื่อต่อลมหายใจในแต่ละวันของผู้ผลิตเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ La Mitra ที่อยากหยิบยื่นโอกาสอย่าง ‘มิตร’ ให้พวกเขาเหล่านั้นจึงเริ่มต้นขึ้นโดยทางแบรนด์ได้รับซื้องานปักจากชาวอาข่า ดอยผาหมีจังหวัดเชียงรายในราคาที่มากกว่าราคาปกติถึง 5 เท่า เปิดโอกาสให้พวกเขาเหล่านั้นได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเลี้ยงปา กเลี้ยงท้องคนในครอบครัว ทั้งยังแสดงให้โลกได้เห็นถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นอันน่าภาคภูมิใจ จนในปัจจุบัน La Mitra สามารถจ้างงานชาวอาข่าได้มากถึงกว่า 60คนแก้ปัญหาอย่างเป็นมิตรตามปกติแล้วสำหรับโรงงานฟอกหนังที่ผลิตหนังตามออเดอร์เพื่อใช้สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตอะไรสักอย่างนั้นมักจะผลิตหนังมากกว่าจำนวนที่ลูกค้าต้องการ 2%เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นหลังจากส่งมอบงานเรียบร้อยแล้วหนังส่วนเกินเหล่านั้นหรือที่เรียกกันว่า‘Surplus’ มักจะถูกโละทิ้งอย่างน่าเสียดายกลายเป็นขยะที่สร้างมลภาวะให้กับธรรมชาติอีกต่อในหนึ่งปีหากนับรวมโรงงานฟอกหนังกว่า 320 โรงทั่วประเทศแล้วอาจกล่าวได้ว่าพวกเขาสร้างหนังที่เกินความจำเป็นออกมามากถึงหนึ่งล้านห้าแสนแผ่น หรือเทียบง่ายๆ คือสนามฟุตบอลโอลิมปิกถึง 320 สนาม!
การแก้ปัญหาอย่างเป็น ‘มิตร’ ต่อทุกฝ่ายที่ La Mitra เลือกใช้จึงไม่ใช่การเพิ่มศัตรูทางมลภาวะให้กับธรรมชาติอย่างการผลิต หนังใหม่ แต่เป็นการหยิบเอา Surplus เหล่านั้นมา Upcycle เติมแต่งดีไซน์ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นชั้นหนึ่ง ด้วยการเลือกหนังFull Grain Nappa Leather ระดับเดียวกับหนังกระเป๋า Luxury Brand ระดับ Hi End ผ่านการพ่นสี ออกแบบตัดเย็บอย่างเป็นเอกลักษณ์ จนได้ชิ้นงานศิลปะที่ผสานเอาความเรียบหรูของกระเป๋าหนังและคุณค่าทางภูมิปัญญาของงานปักสายเข้าไว้ด้วยกันนอกจากนี้ในขั้นตอนของการฟอกหนังน้ำเสียที่เกิดขึ้นยังถูกนำไปผ่านกระบวนการบำบัดอย่างเคร่งครัดจนออกมาเป็นน้ำสะอาดในระดับที่สามารถใช้เลี้ยงสัตว์ได้เพราะความเป็นมิตรที่แท้จริงคือการใส่ใจในความเป็นมิตรอย่างจริงใจ ทุกขั้นตอนคุณค่าของความเป็นมิตรเพราะผ่านกระบวนการคิดคำนึงถึงประโยชน์ต่อ ‘มิตร’มาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ปรัชญาความเชื่อเบื้องหลังแบรนด์ La Mitra นั้นจึงเรียบง่าย ซื่อตรงสอดคล้องกับจุดประสงค์ในการสร้างแบรนด์เป็นอย่างยิ่ง แม้ La Mitra จะทำธุรกิจด้านแฟชั่นที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในตัวการสร้างมลภาวะให้กับโลกที่สุด แต่เรากลับยึดถือ Sustainability เป็นสำคัญ เห็นได้จากการ Upcycle วัตถุดิบสำคัญอย่างหนังฟอก เพราะเราเชื่อว่าเราทุกคนล้วนมีส่วนรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ การผลิต และบริโภควัตถุดิบทิ้งๆ ขว้างๆ จึงเป็นการทำร้ายโลกอย่างร้ายแรงนอกจากนี้เรายังเชื่อใน Community การสร้างสังคมที่ดีคือการให้โอกาสอย่าง ‘มิตร’ ผ่านการว่าจ้างเหล่าชาวเขาในการสรรค์สร้างชิ้นงานศิลปะเพื่อเพิ่มพูนโ อกาสในการหาเลี้ยงตัวเอง สังคมที่สามารถดำเนินต่อไปได้ไม่ใช่สังคมที่รู้จักแต่การรับ หากแต่เป็นสังคมที่ได้รับโอกาสอย่างต่อเนื่องที่จะสามารถลุกขึ้นยืนด้วย ตัวเอง และสามารถดูแลตัวเอง ดูแลครอบครัวอย่างยั่งยืน
และสุดท้าย Craftsmanship นอกจากเม็ดเงินที่สร้างความอิ่มท้องให้กับผู้คนแล้ว ความภาคภูมิใจยังเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความอิ่มใจให้กับผู้มีส่ว นร่วมของแบรนด์ทุกคน La Mitra ไม่เพียงอยากมอบโอกาสอย่างเป็นมิตรให้กับผู้เกี่ยวข้อง แต่ยังอยากเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันน่าภาคภูมิใจ และควรค่าแก่การอนุรักษ์นี้ออกไปให้โลกได้รับรู้ เพราะเมื่อเราหยิบยื่นโอกาสให้ใครสักคนอย่างมิตร เขาเหล่านั้นย่อมเข้าอกเข้าใจ และอยากหยิบยื่นความเป็นมิตรให้กับผู้อื่นเช่นเดียวกัน